งานบริการสอบเทียบเครื่องวัดรังสี

S__5120048
S__5120048
สถาบันนิวเคลียร์-14-12-63-0217-1
สถาบันนิวเคลียร์-14-12-63-0217-1
สถาบันนิวเคลียร์ 14-12-63 0231
สถาบันนิวเคลียร์ 14-12-63 0231
previous arrowprevious arrow
next arrownext arrow

สอบเทียบรังสีแกมมา
(Cs-137)

สอบเทียบรังสีแกมมา
(Cs-137 and Co-60)

สอบเทียบรังสีเอกซ์
(40kV - 300kV)

สอบเทียบเครื่องวัดความเปรอะเปื้อนทางรังสี
(Sr-90, Cl-36, Am-241)

ทดสอบนิวตรอน
(AmBe-241)

สอบเทียบรังสีบีตา
(Sr-90, Kr-85, Pm-147)

ทดสอบการลดทอนรังสี

ขั้นตอนขอรับบริการ

1. ผู้ขอรับบริการ ยื่นคำขอบริการผ่านระบบขอรับบริการออนไลน์ (e-Service) ได้ที่ >> คลิก <<

        • วิธีการเข้าใช้ระบบ >> คลิก <<
        • วิดีโอสอนการเข้าใช้ระบบ >> คลิก <<

2. ผู้ขอรับบริการตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือและเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ก่อนส่งสอบเทียบทุกครั้ง

3. นำส่งเครื่องวัดรังสีที่ต้องการสอบเทียบและคู่มือการใช้งาน (ถ้ามี) แก่เจ้าหน้าที่ตามวันที่นัดหมายในระบบขอรับบริการออนไลน์ โดยสามารถส่งเครื่องมือได้ที่

สถานที่ส่ง/รับเครื่องมือ

ณ สำนักงานส่วนหน้า (TINT-One Stop Service)

อาคาร 9 ชั้น 1 สทน.บางเขน

โทร. 02-4019889 ต่อ 5990  สายตรง 02-5790743

โทรสาร 02-5790220

ณ สำนักงานส่วนหน้า (TINT-One Stop Service)

อาคาร 1 ชั้น 1 สทน.องครักษ์

โทร. 02-4019889 ต่อ 5980

4. รอการดำเนินการสอบเทียบเครื่องวัดรังสีซึ่งจะแล้วเสร็จภายใน 15 วันทำการ

(กรณีที่เจ้าหน้าที่ดำเนินการแล้วเสร็จก่อนวันนัดรับจะโทรแจ้งและ/หรือส่งอีเมล์แจ้งให้ผู้ขอรับบริการทราบ)

5. ชำระค่าบริการ

 – กรณีชำระเป็นเงินสด

สามารถติดต่อชำระเงินได้ที่สำนักงานใหญ่ (องครักษ์) เท่านั้น

 – กรณีที่ชำระโดยวิธีการโอนเงินหรือสั่งจ่ายเช็ค

กรุณาส่งหลักฐานให้สถาบันฯล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วันก่อนเข้ามารับเครื่องมือ

 

6. ผู้ขอรับบริการสามารถรับเครื่องวัดรังสีและคู่มือการใช้งาน (ถ้ามี) คืน และดาวน์โหลดใบรายงานผลการสอบเทียบได้ทางระบบขอรับบริการออนไลน์ โดยสติ๊กเกอร์จะถูกจัดส่งพร้อมใบเสร็จ

(หากลูกค้ายังไม่ชำระค่าบริการจะสามารถรับคืนได้เฉพาะเครื่องวัดรังสีส่วนใบรายงานผลการสอบเทียบและสติ๊กเกอร์จะได้รับหลังจากที่มีการชำระค่าบริการแล้วเท่านั้น)

 * ลูกค้าต้องนำใบนัดรับมาแสดงในวันรับเครื่องมือทุกครั้ง

  ** ห้องปฏิบัติการไม่มีนโยบายตัดสินผลการสอบเทียบว่าผ่านหรือไม่ผ่าน

อัตราค่าบริการ

ใบรับรองห้องปฏิบัติการฯ

หนังสือแจ้งเปลี่ยนแปลงรูปแบบ Certificate

นโยบายความเป็นกลาง

นโยบายคุณภาพ

Q&A

หลังจากที่ลูกค้าได้ส่งเครื่องวัดรังสีมาขอรับบริการสอบเทียบที่ห้องปฏิบัติการฯ แล้ว มักมีคำถามตามมาบ่อย ๆ ว่า  ค่า Calibration Factor (CF.) ที่ปรากฎในใบรับรองผลการสอบเทียบเครื่องวัดรังสี คืออะไร และมีวิธีการนำไปใช้อย่างไร

ค่า Calibration Factor (CF.)  คือ ค่าแก้ไขความคลาดเคลื่อน (Error) ของค่าปริมาณรังสีที่อ่านได้จากเครื่องวัดรังสี โดย

ดังนั้นเมื่อผู้ปฏิบัติงานนำเครื่องวัดรังสีไปใช้ต้องนำค่าที่อ่านได้จากเครื่องวัดรังสีคูณกับค่า Calibration Factor (CF.) ในช่วงการวัด (Range) เดียวกันกับที่ใช้วัดรังสี เพื่อแก้ค่าความคลาดเคลื่อนของเครื่องมือ (Error) ก็จะได้ค่าปริมาณรังสีที่แท้จริง ณ บริเวณที่ปฏิบัติงาน

ตัวอย่าง

ผู้ปฏิบัติงานอ่านค่าปริมาณรังสีจากเครื่องวัดรังสีในบริเวณที่ปฏิบัติงานได้ 100 uSv/h และค่า Calibration Factor (CF.) ในใบรับรองผลการสอบเทียบ มีค่าเท่ากับ 1.05

วิธีคำนวน     ปริมาณรังสีที่แท้จริง        = 100 uSv/h x 1.05

                                                             = 105 uSv/h

ดังนั้น ค่าปริมาณรังสีที่แท้จริงในบริเวณที่ปฏิบัติงาน จะมีค่าเท่ากับ 105 uSv/h

เครื่องวัดรังสีที่สอบเทียบด้วยรังสีแกมมาสามารถนำไปวัดค่าปริมาณรังสีจากเครื่องกำเนิดรังเอกซ์ได้  แต่… ปริมาณรังสีที่วัดได้อาจมีค่าไม่ถูกต้อง เนื่องจากหัววัดรังสีจะมีค่าการตอบสนองต่อรังสีในแต่ละพลังงาน (Energy Response) ที่แตกต่างกัน เมื่อนำไปวัดรังสีที่มีระดับพลังงานแตกต่างไปจากพลังงานที่ใช้สอบเทียบ ก็จะทำให้ปริมาณรังสีที่วัดได้คลาดเคลื่อนไปจากปริมาณรังสีที่แท้จริง

โดยทั่วไป ห้องปฏิบัติการสอบเทียบเครื่องวัดรังสีจะใช้ต้นกำเนิดรังสีซีเซียม-137 (Cs-137) เป็นต้นกำเนิดรังสีมาตรฐานในการสอบเทียบ ซึ่งต้นกำเนิดรังสี Cs-137 นั้น จะสลายตัวให้รังสีแกมมาพลังงานเดียวคือ 661.7 keV ขณะที่เครื่องกำเนิดรังสีเอกซ์สามารถปรับเลือกพลังงานที่ผู้ปฏิบัติงานต้องการใช้งานได้ เช่น 40 kV, 50 kV, ……,  300 kV เป็นต้น

ทั้งนี้ห้องปฏิบัติการฯ แนะนำให้ผู้ปฏิบัติงานสอบเทียบเครื่องมือให้สอดคล้องกับชนิดและพลังงานของรังสี ที่ใช้งาน เพื่อที่จะได้ทราบค่าปริมาณรังสีที่แท้จริงขณะปฏิบัติงานฯ และเพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานฯ เอง

หาก…. เครื่องวัดรังสีถูกสอบเทียบไปกับต้นกำเนิดรังสี Cs-137 ไปแล้ว แต่ผู้ใช้งานมีความจำเป็นต้องนำเครื่องวัดรังสีนี้ไปวัดปริมาณรังสีเอกซ์ ผู้ใช้งานสามารถหาค่าปริมาณรังสีที่แท้จริงได้จาก กราฟ Energy Response ที่ได้จากคู่มือเครื่องวัดรังสี

 

ภาพที่ 1 กราฟ Energy Response ที่อ้างอิงการสอบเทียบจากต้นกำเนิดรังสี Cs-137

 

ตัวอย่าง   หากผู้ปฏิบัติงานนำเครื่องวัดรังสีได้รับการสอบเทียบกับต้นกำเนิดรังสีแกมมา Cs-137 ไปวัดปริมาณรังสีเอกซ์ที่พลังงาน 60 kV อ่านค่าปริมาณรังสีจากเครื่องวัดได้  200 uSv/h (ค่าCalibration Factor จากการสอบเทียบกับ Cs-137 มีค่าเท่ากับ 0.95) จงหาค่าปริมาณรังสีที่แท้จริงของรังสีเอกซ์ โดยใช้กราฟ Energy Response ในภาพที่ 1

วิธีคำนวน  จากกราฟ Energy Response กำหนดให้

  • คือ การตอบสนองต่อรังสีเอกซ์ ที่พลังงาน 60 kV
  • คือ การตอบสนองต่อรังสีแกมมา Cs-137 (พลังงาน 662 keV)

 

 

ขั้นตอนที่ 1. ผู้ปฏิบัติงานต้องแก้ค่าความผิดพลาดของเครื่องมือจากการสอบเทียบด้วยรังสีแกมมา Cs-137 ก่อน โดย นำค่า Calibration Factor (CF. = 0.95) คูณ กับค่าปริมาณรังสีที่อ่านได้จากเครื่องมือ

ดังนั้น  ค่าปริมาณรังสี ณ ขณะปฏิบัติงาน   = 200 uSv/h x 0.95

                                                                   = 190 uSv/h

เมื่อผู้ปฏิบัติงานแก้ค่าความผิดพลาดของเครื่องมือแล้ว ค่า Relative Count rate (แกน x) สำหรับรังสีแกมมา Cs-137 (พลังงาน 662 keV) จะเท่ากับ 1

 

ขั้นตอนที่ 2. ผู้ปฏิบัติงานต้องแก้ค่าไปที่พลังงานที่ใช้งาน 60 kV จากกราฟจะเห็นว่าเครื่องวัดรังสีตอบสนองต่อรังสีเอกซ์ได้สูงกว่ารังสีแกมมาถึง 4.5 เท่า (นำ 4.5 เท่า ไปหารค่าปริมาณรังสีที่ได้จากขั้นตอนที่ 1.)

เพราะฉะนั้นค่าปริมาณรังสีที่แท้จริง ณ ขณะปฏิบัติงานบริเวณเครื่องกำเนิดรังสีเอกซ์ พลังงาน 60 kV จะมีค่าเท่ากับ 

                                                                   =  190 uSv/h  / 4.5 

                                                                   = 42.2 uSv/h

สามารถทำได้  โดยมีเกณฑ์ปฏิบัติในกรณีที่ลูกค้าต้องการส่งเครื่องวัดรังสีสอบเทียบกรณีเร่งด่วน ดังนี้

  1. ลูกค้าต้องจัดส่งเครื่องวัดรังสีที่สทน. สำนักงานใหญ่ (องครักษ์) เท่านั้น
  2. ลูกค้าต้องนัดหมายกับเจ้าหน้าที่รับตัวอย่างล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์
  3. เครื่องวัดรังสีที่ขอรับบริการต้องมีสภาพพร้อมสอบเทียบ (หากตรวจสอบเเล้วพบว่าเครื่องมือชำรุด จะไม่สามารถสอบเทียบตามกรณีนี้ได้)
  4. ห้องปฏิบัติการฯ สามารถให้บริการกรณีเร่งด่วนได้ ไม่เกิน 3 เครื่องต่อวัน
  5. ระยะเวลาในบการให้บริการภายใน 3 วันทำการ
  6. ค่าบริการคิดเป็น 2 เท่าของค่าบริการปกติ

 

ห้องปฏิบัติการฯ ไม่สามารถสอบเทียบเครื่องดังกล่าวได้ เนื่องจากเครื่องวิเคราะห์ทั้ง 2 แบบนั้นไม่ใช่เครื่องวัดปริมาณรังสี แต่เป็น “เครื่องกำเนิดรังสี” ที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมในด้านต่าง ๆ เช่น การวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณของธาตุ วิเคราะห์และระบุชนิดสารประกอบ โครงสร้างผลึกของสารประกอบที่มีอยู่ในสารตัวอย่าง ทั้งในเชิงคุณภาพ (Qualitative) และเชิงปริมาณ (Quantitative)  

โดยผู้ที่ครอบครองหรือใช้งานเครื่องกำเนิดรังสีจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ในกฎกระทรวงและมาตรฐานความปลอดภัยเครื่องกำเนิดรังสี ทั้งนี้สถาบันฯ มีหน่วยงานสำหรับให้คำปรึกษาและให้บริการตรวจประเมินความปลอดภัยเครื่องกำเนิดรังสี ซึ่งท่านสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ e-mail: xray@tint.or.th หรือ โทร 02-4019889 ต่อ 1908

สถาบันฯ มีงานบริการตรวจเช็คและซ่อมเครื่องวัดรังสีให้แก่ผู้ขอรับบริการ โดยบริการดังกล่าวจะมีค่าใช้จ่ายนอกเหนือจากค่าบริการสอบเทียบเครื่องวัดรังสี ซึ่งผู้ขอรับบริการสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

e-mail: radins@tint.or.th หรือ โทร 02-4019889 ต่อ 1500

สถาบันฯ ไม่มีเครื่องวัดรังสีสำรองให้ผู้ขอรับบริการยืมใช้งานในระหว่างส่งสอบ

สถาบันฯ มีช่องทางการให้บริการสอบเทียบเครื่องวัดรังสีในกรณีเร่งด่วน โดยใช้ระยะเวลาดำเนินการสอบเทียบภายใน 3 วันทำการ ทั้งนี้เครื่องมือของผู้ขอรับบริการจะต้องใช้งานได้ตามปกติและต้องส่งสอบเทียบเครื่องวัดรังสีที่ห้องรับตัวอย่างสำนักงานองครักษ์เท่านั้น